อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 4-6 เดือน

อาหาร คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (ช่วง 4-6 เดือน)

ในช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่แพ้ท้อง อาการก็จะค่อยๆดีขึ้น เซลล์ในร่างกายลูกน้อย จะเริ่มขยายขนาด อวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยจะขยายขนาดขึ้น ลูกเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้ ส่วนสมองก็เป็นช่วงที่พัฒนาการมากขึ้นในช่วงไตรมาแรกถึง 4 เท่าสามารถทานอะไรได้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังคงต้องเลือกรับประทานอาหาร ที่เป็นประโยชน์ให้กับลูกในครรภ์เหมือนเดิม อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเน้นทานในช่วงไตรมาสนี้ คือ อาหารจำพวกโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต และอาหารที่มีธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็ก

ได้แก่ เนื้อหมู ไก่ ตับ ปลาทูน่า กุ้ง ไข่แดง งาดำ หรือ ผักใบเขียว
นอกจากนี้ควรได้รับวิตามินซีควบคู่กันไป เพราะวิตามินซีมีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็กให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
    – วิตามินซี ได้แก่  ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว กีวี ฝรั่ง
    – ไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล เกลือที่มีส่วนผสมของไอโอดีน
ช่วงตั้งครรภ์ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ร่างกายจึงต้องการอาหารมากขึ้น เพื่อป้องกันโรคคอหอยพอก เพราะสำหรับทารกแล้วหากได้รับไอโอดีนไม่เพียงพออาจจะทำให้สติปัญญาบกพร่องได้

อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วง 4-6 เดือน

อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 ช่วง 4-6 เดือน

  • อาหารสดใหม่  เมนูอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ หรือที่ใกล้เคียงธรรมชาติให้มากที่สุด คือเป็นอาหารสดใหม่ ผ่านขั้นตอนการปรุงน้อย เพื่อคงคุณค่าอาหารไว้ให้มากที่สุด  หลีกเลี่ยงอาหารซอง อาหารบรรจุกระป๋อง
  • กินมื้อเล็กแต่มากมื้อ   แต่ละมื้อแม่ตั้งครรภ์มักจะกินไม่ได้มากเท่ายามปกติ เพราะลำไส้ทำงานช้าลง และกระเพาะถูกเบียดให้มีพื้นที่น้อยลง แทนที่จะกินมื้อใหญ่ 2-3 มื้อเหมือนตอนไม่ตั้งครรภ์  ก็ควรแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ วันละ 5-6 มื้อแทน
  • ทานไอโอดีน เป็นสารสำคัญที่ร่างกายใช้สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองและการเจริญเติบโตของทารกตั้งแต่ในครรภ์จนกระทั่งคลอด
           ร่างกายของคนเราต้องการสารไอโอดีนประมาน 100-150 ไมโครกรัมต่อวัน (1,000 ไมโครกรัม = 1 มิลลิกรัม) แต่ระหว่างตั้งครรภ์ต่อมไทรอยด์จะทำงานมากขึ้น ร่างกายคุณแม่จึงต้องการไอโอดีนเพิ่มขึ้น  โดยแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมลูกมีความต้องการเพิ่มขึ้นอีก 25 และ 50 ไมโครกรัมต่อวัน  เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทารกในครรภ์ และเพื่อให้มีไอโอดีนส่วนเกินถูกดูดซึมเข้าสู่น้ำนม
  • แนะนำต้องดื่มนม คุณแม่ที่ดื่มนมเป็นประจำก่อนตั้งครรภ์ ควรจะดื่มนมในปริมาณเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนคุณแม่ที่ไม่เคยดื่มนมเลย หรือดื่มไม่สม่ำเสมอ ควรดื่มนมวันละนิด เพิ่มปริมาณขึ้นวันละหน่อย อาจจะในลักษณะวันเว้นวันหรือเว้น 2 วัน แต่ละครั้งควรดื่มครั้งละ 1 แก้ว นมมีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับคนท้องดังนี้
    • โปรตีน  ในน้ำนมเกือบทั้งหมดประกอบด้วยสารอาหารโปรตีนที่เรียกว่า เคซีน โกลบูลิน (globulin) อัลบูมิน (albumin) ในปริมาณค่อนข้างสูง และมีกรดอะมิโนอยู่ 19 ชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างเนื้อเยื่อ เลือด และกระดูกของทารกในครรภ์ 
    • แล็กโตส น้ำตาลแล็กโตสในนม เมื่อถูกย่อยแล้วจะกลายเป็น กลูโคส และ กาแล็กโทส ซึ่ง น้ำตาลกาแล็กโทสนี้เป็นส่วนประกอบของซีรีโบรไซด์ (Cerebroside) ซึ่งพบมากในเยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มประสาท  จึงจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมองทารกในครรภ์
    • แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ให้แข็งแรง ช่วยในการเชื่อมต่อสัญญาณของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ เพื่อให้ลูกน้อยนำไปใช้ในการสร้างกระดูก ที่สำคัญ แคลเซียมในนมเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดูดซึมได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับแหล่งอื่นๆ ถ้าคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อย จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่ในระยะยาว คือทำให้กระดูกเปราะบาง ผุง่ายกว่าปกติ ฟันผุง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อกระดูกในช่วงวัยทอง ในคนปกติ ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม  แต่คุณแม่ท้องจะต้องการสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม เพราะแคลเซียมในตัวคุณแม่ได้ถูกดึงไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสอง
    • DHA  เป็นกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการและการทำงานของสมองและจอประสาทตาของลูกในครรภ์  ในช่วงที่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์จะได้รับดีเอชเอผ่านทางสายสะดือ เพราะทารกยังไม่มีเอนไซม์ที่จะสังเคราะห์กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของดีเอชเอ ให้เป็นดีเอชเอได้  ทารกจึงได้รับดีเอชเอตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากอาหารที่แม่ทานเข้าไป จึงควรเมนูอาหารสำหรับคนท้องที่มีดีเอชเออยู่เสมอ
    • โคลีน  เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาสมองระยะแรกของทารก และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงสารสื่อประสาทที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้และความจำ คุณแม่ควรได้รับโคลีน ไม่ต่ำกว่าวันละ 450 มก.
    • โฟเลต ช่วยพัฒนาเซลล์สมอง และระบบประสาทของลูกน้อยให้สมบูรณ์ ป้องกันความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง  การขาดโฟเลตอาจจะมีผลให้การสร้างระบบประสาทของทารกผิดปกติหรือทำให้ เกิดความพิการได้   
    • ผักผลไม้    เป็นเมนูอาหารสำหรับคนท้องที่ควรกินทุกวัน โดยเน้นการกินให้หลากหลายวันละ 2-3 ชนิด  เช่น  ส้มเขียวหวาน กล้วย แอปเปิ้ล  เงาะ มะละกอสุก เป็นต้น ส่วนผักชนิดต่าง ๆ นั้น คุณแม่สามารถกินได้โดยไม่จำกัด โดยเฉพาะพวกผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง คะน้า ถั่วฝักยาว หรือผักสีอื่นๆ เช่น มะเขือเทศ ฟักทอง แครอต ฯลฯ ซึ่งจะให้แร่ธาตุ วิตามินต่างๆ ที่จำเป็นต่อลูกน้อยในครรภ์ และให้กากใย ช่วยเรื่องการขับถ่ายของคุณแม่ด้วยค่ะ
    • วิตามินต่างๆ  ช่วยเสริมสร้างร่างกายคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ให้แข็งแรง ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานประสานกันได้อย่างดี และยังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์ให้แข็งแรง      
    •