การดูแลผู้ป่วยโรคไต

โรคไตเกิดจากอะไร และการดูแลผู้ป่วยโรคไต

การดูแลผู้ป่วยโรคไต และโภชนาการ สำหรับ ผู้ป่วยโรคไต

ปัจจุบันมีผู้ป่วย ที่เป็นโรคไต ในประเทศไทย เยอะขึ้น เรื่อยๆ ไม่ว่าจะมีสาเหตุของการเกิดโรค ในแบบใด สำหรับผู้ป่วยแล้ว จะมีความกัววล เกี่ยวกับโรคไต ไม่มากก็น้อย ดังนั้น เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ โรคไต กันก่อนดีกว่า และในบทความนี้ จะมีเรื่องการดูแลผู้ป่วย แนะนำเรื่องการปฏิบัติตัว และเรื่องอาหาร สำหรับผู้ป่วย และหวังว่า ไม่ว่าะเป็นผู้ป่วยเอง หรือญาติที่ต้องดูแล จะเข้าใจ และช่วยทำให้ ผู้ป่วย หรือคนที่เรารัก มีความสุข ^^

โรคไต เกิดจากอะไร ?

ไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของสารต่าง ๆ ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกายทาง ปัสสาวะ นอกจากนั้นไตยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ด้วย เช่น กระตุ้นวิตามินดี ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนที่ช่วยในการกระตุ้นเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง

ข้อมูลการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ถึง 8 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 17.6 ของประชากรประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายนับแสนราย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงร้อยละ 15-20 ต่อปี หากไม่ได้ทำการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคแรกซ้อนถึงเสียชีวิตได้

โรคไตนั้นเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง จากพันธุกรรม ด้านพฤติกรรม การกิน และด้านต่างๆ หรือว่า จากสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันพบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวายเรื้อรัง มากที่สุด คือ เกิดจาก โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และนิ่วในทางเดินปัสสาวะ สาเหตุของโรคไตที่สำคัญในประเทศไทยอีกสาเหตุหนึ่งคือการกินยาที่มีผลต่อการทำงานของไต โดยมักพบสัมพันธ์กับการกินยาแก้ปวดปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือกินยาสมุนไพรบางชนิด ก็สามารถทำให้เกิด อาการของโรคไตได้

โรคไต เมื่อเป็นแล้วมีอาการอย่างไรบ้าง?

อาการของคนที่เป็นโรคไต จะขึ้นอยู่กับระยะ ที่เป็น ดังนั้นหากต้องการทราบว่าเราเป็นโรคไตหรือเปล่า หรือว่า อยู่ในระดับใดแล้ว ต้องมีการตรวจค่าไต กรณีที่ไต ทำงานได้น้อยทำให้มีของเสียในร่างกายมาก จะมีอาการโดยทั่วไป ดังนี้

ความดันโลหิตสูง บวม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย โลหิตจาง ปริมาณปัสสาวะลดลง ในโรคไตบางชนิดอาจพบว่าปัสสาวะมีฟองมากกว่าปกติซึ่งบ่งชี้ว่ามีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ

โรคไต แบ่งเป็น 5 ระยะดังนี้

โดย แบ่งตามค่า eGFR หรือค่าการกรองของเสียของไต ยิ่งมาก แสดงว่าไตทำงานได้ดี

ระยะที่ 1 ค่า eGFR มากกว่า 90 ถึงแม้ว่าจะเสื่อม แต่การทำงานยังเป็นปกติ
ระยะที่ 2 ค่า eGFR 60 – 89 ไตทำงานลดลงเล็กน้อย
ระยะที่ 3a-3b ค่า eGFR 30 – 44 และ 45 – 59 ระยะนี้ไตทำงานลดลงมาก
ระยะที่ 4 ค่า eGFR 15 – 29 ระยะนี้ไต ทำงานลดลงมาก
ระยะที่ 5 ค่า eGFR น้อยกว่า 15 เกิดภาวะ ไตวาย หรือไตเริ้อรังระยะสุดท้าย

ดังนั้นหากต้องการทราบ โดยระเอียด ต้องมีการตรวจค่า การทำงานของไต เพื่อระบุว่า ผู้ที่คิดว่าเป็นโรคไต มีค่าการทำงานของไตที่เท่าไหร่ จึงสามารถ ระบุ และ ดูแลได้ อย่างถูกต้อ