ภาวะเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

แนวทาง การรับประทานอาหาร สำหรับหญิงที่มีเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก่อนอื่นมารู้จัก กันก่อนว่า เบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร โรคเบาหวานมีผลกระทบต่อทั้งแม่ และทารก อย่างมาก เช่น เพิ่มอัตราเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ, เพิ่มความเสี่ยงการแท้งบุตร, เพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตของมารดา, ทารกพิการแต่กำเนิด ซึ่งการจะควบคุมเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลเสียแก่มารดา และทารก ปัจจัยหลักมาจากการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และยา สำหรับในส่วนนี้ ขอแนะนำในเรื่องของอาหาร ที่มีส่วนช่วย สำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ ให้ไม่มีภาวะ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ กัน

ใครที่เสี่ยงมีอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ใครมีความเสี่ยงที่จะมีอาการ เบาหวานขณะตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยง โดยมากจะมีอาการดังนี้ร่วมด้วย

  • คุณแม่ที่มีอายุ มากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติที่คนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • มีระดับไขมันในเลือดสูง
  • เคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • เคยคลอดบุตรที่น้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 4.5 กิโลขึ้นไป
  • คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกาย มากกว่า 30

ลองทดสอบคำนวน BMI ของคุณได้ที่นี่ ^^

[forminator_form id=”255″]

อาหารที่แนะนำสำหรับคุณแม่ ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

อาหารที่แนะนำสำหรับคุณแม่ ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สำหรับอาหารที่แนะนำ สำหรับผุ้ที่มีภาวะ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ปกติแล้ว เราก็ต้องได้รับ อาหารครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นแบบนั้น แต่ว่าเราจะแยกหมวดหมู่ที่จำเพาะได้ดังนี้

  • โปรตีน หรืออาหารพวกเนื้อ ไข่ อกไก่ แนะนำให้ได้รับ 60-80 กรัมต่อวัน (1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)
  • ไขมัน แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หนังไก่ และพวกกะทิ
  • คาร์โบไฮเดรต ข้าวแป้ง แนะนำให้ทานข้าวแป้งที่ไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ทั้งนี้ อาหารพวกข้าวกล้อง หากเป็นโรคบางชนิดเช่นโรคไต ควรได้รับการแนะนำจากแพทย์อีกครั้ง
  • ผัก ผลไม้ สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แล้วอาจมีอาการท้องผูกด้วย ดังนั้นอาหารประเภทกากใยอาหาร จึงจำเป็นและช่วยเรืองระบบขับถ่าย ควรได้รับมื้อละ 1 ส่วน เช่นส้ม 1 ลูก
  • วิตามิน แร่ธาตุ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งมีมากในตับ ไข่แดง และผักใบเขียว แคลเซียม มีมากใน ปลาตัวเล็กๆ อาหารที่มีกรดโฟลิก มีมากในผักใบเขียว ผลไม้สด

วิธีการปฏิบัติตัว สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะ เบาหวานขณะตั้งครรภ์

การรับประทานอาหาร แนะนำว่า ควรแบ่งเป็นมื้อย่อย ทานน้อย แต่ท่านบ่อย หรือประมาณ 6-8 มื้อต่อวัน และแนะนำว่า ควรงดพวกขนม หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด หรืออาหารรสจัด รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบตามมื้ออาหาร  หากเป็นไปได้ แนะนำให้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนบน

ระดับน้ำตาลในเลือดที่ควรจะเป็น ของคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แนะนำให้ทำการตรวจประมาณ 4 ครั้งต่อวันดังนี้

  • ตอนเช้าก่อนอาหาร และก่อนนอน ควรมีระดับน้ำตาล 60-95
  • เมื่อทานอาหารแล้ว 1 ชั่วโมง ควรมีระดับน้ำตาล น้อยกว่า 140
  • หลังทานอาหาร 2 ชั่วโมง ควรมีระดับน้ำตาล น้อยกว่า 120
  • และในช่วงเวลา ตี 2 – ตี 4 ควรมีระดับน้ำตาลมากกว่า 60