กินอย่างไรห่างไกล......โรคหัวใจและหลอดเลือด

กินอย่างไรห่างไกล………………โรคหัวใจและหลอดเลือด

กินอย่างไรห่างไกล………………โรคหัวใจและหลอดเลือด

กินอย่างไรห่างไกล......โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจแลละหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศไทย  โดยกลุ่มโรคนี้เกิดจากหลอดเลือดตีบตันหรทอหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมไขมัน โปรตีนและแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตันและแคบทำให้มีความต้านทานต่อการไหลเวียนเลืด  หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น  เปราะบางมากขึ้นหากเกิดบริเวณเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจจะทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลันหรือหัวใจล้มเหลวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตได้  หากเกิดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง  ทำให้เกิดอาการ สโตรค (Stroke) ทำให้เซลล์สมองบางส่วนตาย  ทำให้เกิอาการอัมพาต

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  ได้แก่ อายุที่มากขึ้น  เพศชายมีโอกาสพบได้มากกว่าเพศหญิง

พันธุกรรมบุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเดโรคหัวใจขาดเลือดจะมีโอกาสเสี่ยงมากยิ่งขึ้นและยังมีปัจจัยอื่นๆที่สามารถปรับเปลี่ยนได้  เช่น

  • ภาวะไขมันในเลือด หากสามารถควบคุมได้ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
  • การสูบบุหรี่ทำให้ไขมันที่ดี (HDL) ลดลงและหลอดเลือดแข็งสูงขึ้น หัวใจทำงานหนักมากขึ้น
  • ความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดฉีกขาด  เกิดเกร็ดเลือดและไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด
  • โรคเบหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบหวน  จะมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคหัวใจเป็น 2 เท่าของคนปกติ
  • การออกกำลังกาย หากออกกำลังกายอย่างสเสมอทุกวัน  วันละ 30 นาทีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
  • ความเครียด จะทำให้ร่างกายหลั่งสาน เคทโทมิน(Catecholamine) ทำให้หลอดเลือดหดตัว
  • อาชีพ ทำงานนั่งโต๊ะที่ใช้สมองมากๆ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • บุคลิกภาพ เป็นคนใจร้อน ก้าวร้าว เจ้าอารมณ์โกรธง่าย เครียดเป็นประจำ มีความคิดแข็งขัน

อาหารที่เราควรจะบริโภคเพื่อป้องกันภาวะคหัวใจและหลอดเลือด มีดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง โคเรสเตอรอลสูง เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เครื่องในสัตว์  ไข่แดง  หอยนางรม  ปลาหมึก  กุ้ง
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด อาหารที่มีกะทิ  และขนมเบเกอรี่ และอาหารแปรรูปต่างๆ เช่นไส้กรอก  กุนเชียง  แฮม  เบคอน  หนังไก่  หนังเป็ด  ไก่ทอด ปาท่องโก๋  เค้ก พาย คุ๊กกี้ ฯ
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเนยมาการีนและเนยขาว และ ขนมขบเคี้ยว เช่น คุ๊กกี้  เค้ก โดนัท  วิปปิ้งครีม  แคร็กเกอร์  แป้งพิซซ่า มันฝรั่งทอด ข้าวโพดป๊อบคอร์น
  4. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไปโดยจำกัดอาหารประเภท ข้าว – แป้ง ต่างๆขนมหวาน
  5. ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารให้แต่พอดี และเลือกใช้น้ำมันที่มีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว น้ำมันรำข้าว และเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันที่จำเป็นไลโนเลอิกและไลโนเลอิกสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง
  6. หากดื่มนมเป็นประจำควรเลือกดื่มนมประเภทไขมันต่ำ
  7. ลดการกินอาหารที่มีรสเค็ม และอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เกลือ น้ำปลา  ซีอิ๊ว  ผงปรุงรส  ซุปก้อน  น้ำซอสชนิดต่างๆรวมไปถึงอาหารจำพวก ปลาเค็ม  ไข่เค็ม ผักกาดดอง  หมูหยอง  หมูแผ่น เป็นต้น
  8. กินผักผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน รวมทั้งยังได้รับกากใยเพื่อช่วยลดการดูดซึมได้ดีอีกด้วย
  9. ออกกำลังการอย่างสม่ำสมอ ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และยังช่วยเพิ่มระดับของไขมันขนิดดี (HDL)
  10. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา  กาแฟ  และงดการสูบบุหรี่
  11. พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมไม่ให้เกิดความเครียดทั้งทางอารมณ์และจิตใจ

คอยติดตามเรื่อง อาหาร และการดูแลสุขภาพได้ ที่ อาหารดี.com นะคะ หากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามกันเข้ามาได้คะ จะหา มาตอบให้นะค่ะ