อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

คำแนะนำเรื่อง อาหารโรคไต สำหรับผู้ป่วยโรคไต แต่ละ ระยะ

คำแนะนำเรื่อง อาหาร โรคไต สำหรับผู้ป่วยโรคไต แต่ละ ระยะ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ระยะที่ 1 – 2

ผู้ป่วยควรควบคุมอาหาร หลักๆแล้วควรหลีกเลี่ยง อาหารรสเค็มจัด หวานจัด อาหารที่มีไขมันสูง และที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยคือการควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/85 และหากมีเบาหวานร่วมด้วย แนะนำว่า ควรดูแลระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ให้ไม่เกิน 6.5%

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ระยะที่ 3a-4-5

สำหรับผู้ป่วยระยะนี้ แนะนำให้มีการควบคุมอาหาร อย่างเคร่งครัด และมีการตรวจ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแนวทางการจำกัดปริมาณโปรตีน ให้เหมาะสม ป้องกันการเสื่อมของไต นอกจากนี้ยังต้องดูแลเรื่องของ อาหารที่มี โซเดียม (เกลือ) โพแทสเซียม และ ฟอสฟอรัส อีกด้วย

การกำหนดสัดส่วนอาหาร ของผู้ป่วยโรคไต ต้องมีการคำนวน หาสัดส่วนของน้ำหนักที่ควรจะเป็น เพื่อทำให้ การดูแลผู้ป่วยโรคไต ได้ผลดี มีวิธีการหาดังนี้
ผู้ชาย ส่วนสูง – 100 =  น้ำหนักที่ควรจะเป็น
ผู้หญิง ส่วนสูง – 105 =  นำหนักตัวที่ควรจะเป็น

ค่า eGFR เพื่อประเมินระยะ ของโรคไต

หรือกรอกฟอร์มด้านล่างเพื่อคำนวนให้ได้เลย ^^

[forminator_form id=”253″]

แล้วผู้ป่วยต้องได้รับพลังงานเท่าไหร่ต่อวัน ?

เมื่อเรารู้น้ำหนักที่ควรจะเป็นแล้ว ต่อไปเราต้องมาดูเรื่อง พลังงานที่ควรจะได้รับ ต่อวัน โดยจะ แบ่งได้ 2 กรณีคือ

  • อายุ น้อยกว่า  60 ปี ควรได้รับพลังงานประมาณ 35 กิโลแครอรี่ ต่อน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น ต่อวัน
  • อายุ มากกว่า  60 ปี ควรได้รับพลังงานประมาณ 30 กิโลแครอรี่ ต่อน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น ต่อวัน

สามารถดูได้จากฟอร์มด้านบน ว่าเราควรได้รับพลังงานเท่าใด

ความต้องการโปรตีน สำหรับ การดูแลผู้ป่วยโรคไต

ความต้องการโปรตีน สำหรับผู้ป่วยโรคไต

ถ้าเราต้องการดูว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต นั้น ต้องได้รับ โปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ ฯลฯ) เท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับผู้ป่วย เราต้องคำนึงถึง ระยะ ของโรคไตด้วยดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคไตระยะ 1-2 ควรจะได้รับ โปรตีน 0.8 – 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะ 3-4 ควรจะได้รับ โปรตีน 0.6 – 0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะ 5 ควรจะได้รับ โปรตีน 0.4 – 0.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตแล้ว ควรได้รับ โปรตีน 1.1 – 1.4 กรัมต่อวัน

ทดลองกรอก น้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น ในช่องด้านล่างได้เลย และเลือก ระยะ ได้เลย

[forminator_form id=”275″]

กลุ่มอาหาร เนื้อสัตว์ ที่ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยง

สำหรับอาหารพวกโปรตีนที่ ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยงในการรับประทาน มีดังนี้

  • ไข่แดง (ไข่ขาวทานได้)
  • หมูยอ และลูกชิ้น
  • ไส้กรอก ทุกประเภท
  • กุนเชียง
  • ไส้กรอกอีสาน
  • อาหารพวกเต้าหู้ทุกชนิด
  • เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
  • สัตว์ที่กินได้ทั้งเปลือก กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย
  • หอยทุกชนิด

การคำนวนพลังงานกลุ่มข้าวแป้ง ที่เหมาะสมกับ การดูแลผู้ป่วยโรคไต

การคำนวนพลังงานกลุ่มข้าวแป้ง

อาหารกลุ่มข้าวแป้ง ถือว่าเป็นกลุ่มหลัก เพราะว่าเราต้องได้รับ พลังงานประมาณ 55 – 60 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานที่เราได้รับทั้งวัน แล้วอะไรบ้างที่ ผู้ป่วยโรคไต สามารถทานได้ หรืออะไรที่ไม่ควรทาน

สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่แนะนำให้ทานข้าวกล้อง เพราะ ข้าวที่ไม่ขัดสี มีประโยชน์กับ ท่านที่ไม่มีภาวะโรคไต แต่หากเป็นผู้ป่วยแล้ว จะทำให้ไตทำงานหนัก นอกจานี้แล้ว ขนมปัง สำหรับผู้ป่วยระยะ 3a -5 ไม่ควรทานขนมปัง สำหรับ ผู้ป่วยระยะ 1-2 แนะนำทานข้าวขาว ที่มีการขัดสี หรือทานขนมปังขาวได้

แป้งที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไต คือแป้งปลอดโปรตีน เรามาดูกันว่า แป้งแบบใดที่เหมาะสม กับผู้ป่วยโรคไต

แป้งที่ต้องจำกัด ปริมาณ หรือควรเลี่ยง คือแป้งที่มีโปรตีน

ข้าวขาว ขนมปังขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน

แป้งปลอดโปรตีน หรือโปรตีนต่ำ แนะนำให้ทานสำหรับผู้ป่วย

วุ้นเส้น เส้นเซี่ยงไฮ้ ซาหริ่ม สาคูต้มสุก เส้นแก้ว แป้งถั่วเขียว แป้งมันสำปะหลัง

ปริมาณ ไขมัน ที่ควรได้รับ สำหรับผู้ป่วยโรคไต

ปริมาณไขมันสำหรับผู้ป่วย

โดยทั่วไปแล้ว เราควรได้รับปริมาณไขมัน ร้อยละ 30-35 ของน้ำหนักตัวที่ควรจะได้รับ แล้วอาหารแบบไหนที่ผู้ป่วยโรคไต ควรได้รับ

แหล่งไขมัน ที่ควรเลือกใช้

  • น้ำมันรำข้าว
  • น้ำมันถั่วเหลือง
  • น้ำมันมะกอก
  • น้ำมันดอกคำฝอย

แหล่งไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง

  • น้ำมันจากถั่วเปลือกแข็ง
  • ไขมันจากสัตว์
  • เนย มาการีย กะทิ

โซเดียม ปริมาณเท่าใด ที่ผู้ป่วยโรคไต ควรได้รับ?

ปกติแล้วผู้ป่วยโรคไต จำเป็นต้องได้รับโซเดียม ไม่เกินวันละ 1800 – 2000 มิลลิกรัม (1.8 – 2 กรัม) ต่อวัน แล้วแต่ระยะของโรค ดังนั้น เราต้องคุมปริมาณ โซเดียมที่ต้องได้รับต่อวัน เพราะการได้รับโซเดียมมาก จะทำให้ หิวน้ำมากกว่าเดิม ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ ดังนั้นการควบคุมโซเดียม จึงจำเป็นกับผู้ป่วยมาก

เรามาดูกันว่า เครื่องปรุง หรือน้ำจิ้ม ที่เรากินกันมีปริมาณ โซเดียมเท่าไหร่

  • เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2000 มิลลิกรัม
  • ซอสมะเขือเทศ มีโซเดียม 50 มิลลิกรัม
  • น้ำพริกเผา 1 ช้อนชา มีโซเดียม 85 มิลลิกรัม
  • พริกแกง 1 ช้อนชา มีโซเดียม 220 มิลลิกรัม
  • น้ำจิ้มสุกี้ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 95 มิลลิกรัม
  • ซีอิ้วขาว 1 ช้อนชา มีโซเดียม 460 มิลลิกรัม
  • ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียม 490 มิลลิกรัม
  • ซุปก้อน 1 ช้อนชา มีโซเดียม 880 มิลลิกรัม
  • ผงฟู 1ช้อนชา มีโซเดียม 340 มิลลิกรัม
  • กะปิ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 350 มิลลิกรัม

นี่อาจจะตอบข้อสงสัยว่า ทำไมผู้ป่วยโรคไต หรือว่า เวลาที่เราไปหาหมอ แล้วมักได้รับคำแนะนำว่า ไม่ควรทาน ผงชูรส เพราะปริมาณโซเดียมเยอะมากๆ อาจจะทำให้มีปัญหา กับไตได้ ^^

ผู้ป่วยโรคไต ระยะ 1 – 2 หรือผู้ที่ยังไม่ป่วย แนะนำให้ทางโซเดียมไม่เกิน 2000 มิลลิกรัม หรือว่า 2 กรัมต่อวัน หรือไม่ทานเลย สำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะ 3-5 แนะนำว่า ไม่ควรทานเกิน 1800 มิลลิกรมต่อวัน หรือ 1.8 กรัมต่อวัน

การควบคุมระดับ โพเทสเซียม สำหรับผู้ป่วยโรคไต

สำหรับโพแทสเซียม มีส่วนในการทำงานของร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ การทำงานของเส้นประสาท การทำงานของกล้ามเนื้อ กรณีที่เป็นโรคไต ร่างกายจะทำให้การขับโพแทสเสียมเสียไป หากโพแทสเซียมมีปริมาณมากเกินไป จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มแหลว

ผักที่แนะนำ ให้ทานได้สำหรับผู้ป่วยโรคไต

  • กะหล่ำปลี
  • แตงกวา ต้องเอาไส้ออก
  • ถั่วแขก
  • ถั่วงอก
  • ถั่วฝักยาว
  • ถั่วพู
  • บวบ
  • ผักกาดขาว
  • ผักกาดหอม
  • ฝัก เอาไส้ออก
  • พริกหวาน
  • มะเขื้อขาว
  • มะระจีน เอาไส้ออก
  • มะละกอดิบ
  • หอมหัวใหญ่
  • เห็ดหูหนู

ผักที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้ป่วยโรคไต ระยะ 3-5 

  • กระเพา
  • ขึ้นฉ่าย
  • คะน้า
  • แครอท
  • ชะอม
  • ดอกกะหล่ำ
  • บร็อคโคลี่
  • ใบแมงลัก
  • ผักโขม
  • ฟักทอง
  • มะเขือเทศ
  • หน่อไม้
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • หัวปลี
  • เห็ดฟาง
  • เห็ดหอม

ผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไต สามารถทานได้

  • เงาะ 4 ผล
  • ชมพู่ 2 ผล
  • เชอร์รี่ 8-10 ผล
  • แตงโม
  • พุทรา 2 ผล
  • มังคุด 2 ผล
  • ลองกอง 6 ผล
  • ลิ้นจี่ 4 ผล
  • ลูกแพร์ 1 ผล
  • ส้มโอ 2 กลีบ
  • สละ 2-3 ผล
  • สับปะรด
  • สาลี่
  • องุ่นเขียว 8-10 ผล
  • แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล
  • แอปเปื้ลแดง 1 ผล

ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ควรหลีกเลี่ยง

  • กล้วย
  • มะพร้าว
  • ทะเรียน
  • ขนุน
  • แก้วมังกร
  • มะละกอสุก
  • กีวี่
  • มะขาม
  • ส้ม
  • ลำไย
  • น้อยหน่า
  • มะม่วงสุก
  • ฝรั่ง
  • อินทผาลัม
  • เสาวรส
  • ผลไม้อบแห้ง